ปี่แนปี่รองแต่ทำนองเพราะ - ปี่แนปี่รองแต่ทำนองเพราะ นิยาย ปี่แนปี่รองแต่ทำนองเพราะ : Dek-D.com - Writer

    ปี่แนปี่รองแต่ทำนองเพราะ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,393

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.39K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ต.ค. 49 / 09:40 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ปี่จุม หรือ ปี่แน

      ปี่จุมทำด้วยลำไม้รวก มีขนาดยาวสั้นและเล็กใหญ่ขนาดต่าง ๆ กัน ตามแต่ระดับเสียงที่ต้องการ สำรับหนึ่ง ๆ มี 3 เล่ม, 4 เล่ม,หรือ5 เล่ม ภาษาถิ่นจะเรียก จุม 3, จุม 4, จุม 5 ซึ่ง จุมแปลว่า กลุ่มหรือชุด นั้นเอง มีขนาดโดยประมาณดังนี้

        ปี่แม่ ยาว 40 นิ้ว  (ปี่เก๊า)

        ปี่กลาง ยาว 30 นิ้ว  (ปี่ก๋าง)

        ปี่ก้อย ยาว 20 นิ้ว  (ปี่ก้อย)

        ปี่ตัด ยาว 15 นิ้ว  (ปี่เล็ก)

       

       

      ไม้ที่ใช้มาทำจะเป็นไม่ไผ่รวกชนิดหนึ่ง มีสีออกแดง ปี่ 1 จุมจะใช้ไม้ไผ่รวกลำเดียวกันทำโดยตัดไม้ตามขนาดที่ต้องการ นำมาตากแดดจนแห้งดีแล้ว นำไปทะลวงข้อโดยใช้เหล็กแหลมเผาไฟ ทางปลายที่เรียวเล็กจะใช้เป็นหัวเล่ม ซึ่งจะปาดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เอาไว้ใส่ลิ้นปี่ แล้จะเจาะรูไล่ลงมา 7 รู ซึ่งระยะห่างของรูแต่ละช่วงจะไม่เท่ากันเหมือนขลุ่ย รูที่เจาะนั้นก็จะไม่เจาะเหมือนขลุ่ยกล่าวคือจะเจาะทะลุย้อนขึ้นไปทางหัวปี่ที่ใส่ลิ้น ไม่เจาะทะลุตรง ๆ เวลาเป่าจะใช้ปากอมลิ้นเข้าไปแล้วใช้แก้มทำกล่องลมเพื่ออัดลมเข้าลิ้นให้เกิดเสียง อย่าง มุราลีของพระกฤษณะ ลิ้นปี่ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของปี่จุม จะใช้ทองแดง หรือสำริด ตีให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วทำการเซาะให้เป็นแนวร่องทะลุ ให้เป็นรูปตัว V ซึ่งเสียงของปี่จะดีหรือไม่ จะเป่าง่ายเป่ายากขึ้นอยู่กับลิ้นปี่นั้นเอง เพราะฉะนั้นจึงมีเพียงจั้ง ปี่รุ่นเก่า ๆ เท่านั้นที่ทำปี่ได้เสียงดี และหาผู้สืบต่อได้ยากเพราะต้องใช้เวลาและสมาธิสูงในการทำ วงปี่ สมัยก่อนนั้น จะประกอบด้วย ปี่จุม 4 เพียงเท่านั้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆโดยลดปี่ลงเพียง 3 เล่ม คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย และได้นำซึง เข้ามาแทน เพื่อใช้เป็นเสียงทุ้ม จนถึงปัจจุบันนี้ วงปี่เหลือเพียง ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก และ ซึง โดยได้ตัดปี่แม่ออกเนื่องจากปี่แม่มีลีลาเม็ดพรายน้อย ประกอบกับมีความยาวมาก เด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่จะหัด นิ้วมือจะสัมผัสรูปี่ไม่ถึง ปี่แม่จึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากวงซอ สำหรับ ปี่ก้อยนั้นได้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของวงซอเพราะถือว่าเป็นผู้นำเปรียบเสมือนระนาดเอกของภาคกลาง จั้งซอและจั้งปี่เล่มอื่น ๆ จะฟังเสียงจากปี่ก้อย เพราะปี่ก้อยจะมีลีลาเม็ดพรายที่มากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจั้งปี่ที่ทำการเป่าด้วย จั้งซอจะเปลี่ยนทำนองซอเป็นทำนองไหนก็ต้องบอกจั้งปี่ก้อยเพียงผู้เดียว เสียงที่ดังระรัวแต่อ่อนหวาน จึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของปี่ซอ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×